วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556



                                                                      ฮีตสิบสองคองสิบสี่
                                               

ฮีตสิบสองฮีตสิบสองมาจากคำ 2 คำ คือ ฮีต กับ สิบสองฮีตมาจากคำว่า จารีต หมายถึงสิ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณีที่ดีงามชาวอีสาน เรียกว่า จาฮีต หรือฮีต สิบสอง หมายถึง เดือนทั้ง 12เดือนในหนึ่งปีฮีตสิบสอง จึงหมายถึงประเพณีที่ประชาชนชาวอีสานได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาในโอกาสต่างๆทั้งสิบสองเดือนในแต่ละปีประเพณีทั้งสิบสองเดือนที่ชาวอีสานถือปฏิบัติกันมานั้นล้วนเป็นประเพณีที่ส่ง
    



เสริมให้คนในชุมชน ได้ออกมาร่วมกิจกรรมพบปะสังสรรค์กันเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงและเพื่อความสมานสามัคคีมีความรักใคร่กัน ของคนในท้องถิ่นซึ่งเป็นการสืบทอดสิ่งที่ดีงามมาจวบจนปัจจุบัน ประเพณีอีสานส่วนใหญ่จะมีเอกลักษณ์แตกต่างจากประเพณีภาคอื่นๆ (อาจคล้ายคลึงกับประเพณีของทางภาคเหนือบ้างเพราะมีที่มาค่อนข้างใกล้ชิดกัน)ประเพณีอีสานได้รับอิทธิพลมา จากวัฒนธรรมล้านช้าง(แถบหลวงพระบางประเทศลาว)จึงจะเห็นได้ว่าประเพณีของชาวอีสานและชาวลาวมีความคล้ายกันเพราะมีที่มาเดียวกันและชาวอีสานและชาวลาวก็ไปมาหาสู่กนเป็นประจำเยี่ยงญาติพี่น้องทำให้มีการถ่ายเทวัฒนธรรมระหว่างกันด้วย
                   



เดือนสาม-บุญข้าวจี่

บุญข้าวจี่เป็นการทำบุญในช่วงเทศกาลวันมาฆบูชา ชาวบ้านจะมาร่วมกันทำบุญตักบาตรในตอนเช้า ตอนค่ำจะมีการเวียนเทียน
รอบพระอุโบสถ ซึ่งการทำบุญข้าวจี่นี้ชาวบ้านอาจจะไปรวมกันที่วัด หรือต่างคนต่างจัดเตรียมข้าวจี่ไปเองแล้วนำไปถวายพระภิกษุสามเณรที่วัด มีการไหว้พระรับศีลพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์และตักบาตรด้วยข้าวจี่ แล้วยกไปถวายพร้อมภัตตาหารอื่นๆ เมื่อพระฉันเสร็จแล้วมีการฟังเทศน์ฉลองข้าวจี่และรับพร ซึ่งมูลเหตุที่มีการทำบุญข้าวจี่ เนื่องมาจากสมัยพุทธกาลมีนางทาสชื่อปุณณทาสีได้นำแป้งข้าวจี่(แป้งทำขนมจีน) ไปถวายพระพุทธเจ้า แต่จิตใจของนางก็คิดว่าขนมแป้งข้าวจี่เป็นเพียงขนมของทาสที่ต่ำต้อย พระพุทธองค์คงไม่ฉัน ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงหยั่งรู้จิตใจของนาง จึงทรงฉันแป้งข้าวจี่ต่อหน้านาง ทำให้นางเกิดความปิติดีใจชาวอีสานจึงได้แบบอย่างในการทำแป้งข้าวจี่นี้และพากันทำบุญข้าวจี่ถวายพระมาโดยตลอด โดยเฉพาะในช่วงเดือนสามจะมีการทำข้าวจี่ถวายพระมาจวบจนปัจจุบัน (การทำข้าวจี่ของชาวอีสานในช่วงเดือน 3 นั้นเป็นช่วงที่อากาศหนาวเย็น ดังนั้นการจี่ข้าวในช่วงนี้ชาวบ้านก็จะได้รับไออุ่นจากการนั่งล้องวงกันจี่ข้าวอีกด้วย) การทำข้าวจี่ของชาวอีสานนั้นปัจจุบันส่วนใหญ่จะใช้ข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วมาปั้นเป็นก้อน แล้วนำไปย่างบนไปอ่อนๆบางคนอาจใช้ไข่เหลืองทาเพื่อให้มีสีที่น่ารับประทาน หรือใส่น้ำอ้อยที่ใส้ข้าวจี่ จี่ ภาษาอีสานหมายถึง ปิ้งหรือย่าง


                         


เดือนสี่ บุญผะเหวดหรือบุญมหาชาติ
...คำว่าผะเหวด เป็นสำเนียงของชาวอีสาน ที่มาแผลงมาจากคำว่าผะเหวด ซึ่งหมายถึง ผะเหวดสันดร การทำบุญผะเหวดเป็นการทำบุญและฟังเทศน์เรื่องผะเหวดสันดรชาดกหรือเทศน์ มหาชาติซึ่งมีจำนวน กัณฑ์3 กัณฑ์ ทั้งนี้เพี่อเป็นการรำลึกถึงผะเหวดสันดรผู้ซึ่งบำเพ็ญเพียรอันยิ่งใหญ่ด้วยวิธีบริจาคทาน หรือทานบารมีในชาติสุดท้าย หรือมหาชาติของพระพุทธองค์ ก่อนที่จะมาเสวยชาติและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

 ...งานบุญผะเหวดเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ของชาวอีสานนิยมทำกันทุกหมู่บ้าน ด้วยความเชื่อว่าหากได้ฟังเทศน์มหาชาติครบทั้ง กัณฑ์3 กัณฑ์จบภายในวันเดียวนั้น อานิสงฆ์จะดลบันดาลให้ไปเกิดในศาสนาของพระศรีอาริยเมตไตรย ซึ่งเป็นดิน
แดนแห่งความสุขตามพุทธคติ ปัจจุบันงานบุญผะเหวดยังหาดูได้ทั่วไปเกือบทุกจังหวัดในภาคอีสาน ภายในงานจะมีขบวนแห่พระเวสสันดรหลายขบวน และมีการทำขนมจีน(ชาวอีสานเรียกข้าวปุ้น)มากมายมาเลี้ยงแขกบ้านแขกเมือง

 



...การแห่ผะเหวด และ การแห่ข้าวพันก้อน ในตอนเย็นของวันโฮมจะมีการไปรวมกันที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งสมมติกันว่าเป็นป่า ตามเรื่องราวในพระเวสสันดรชาดกและพากันแห่ผ้าซึ่งเขียนภาพเป็นเรื่องราวพระเวสสันดรชาดกทั้ง ๑๓ กัณฑ์ เข้สู่หมู่บ้าน ตามระยะทางจะมีผู้ตั้งหม้อน้ำหอมไว้สำหรับให้ผู้ที่แห่ผะเหวดไว้เอาดอกไม้จุ่มเป็นการบูชาพระเวสสันดร พอถึงบริเวณวัดก็จะนำผ้าไปขึงไว้บริเวณรอบศาลาการเปรียญหมู่บ้าน
...มูลเหตุที่มีการทำบุญผะเหวด มีเล่าไว้ในเรื่องพระมาลัยหมื่นมาลัยแสนว่า พระมาลัยได้ขึ้นไปไหว้พระธาตุเกศแก้วจุฬามณีในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์พบพระศรีอริยเทตไตรย พระศรีอริยเมตไตยได้ดำรัสสั่งกับพระมาลัยว่าถ้ามนุษย์อยากพบพระองค์ จงอย่าได้ทำบาปหนัก ได้แก่ ฆ่าหรือข่มเหงบิดามารดา สมณพราหมณาจารย์ทำร้ายร่างกายพระพุทธเจ้าและยุยงพระสงฆ์ให้แตกกัน ให้อุตสาห์ฟังเรื่องราวมหาเวสสันดรชาดกหรือผะเหวดให้จบในวันเดียวกันฟังแล้วให้นำไปประพฤติปฏิบัติจะได้พบพระศาสนาของพระองค์ เมื่อพระมาลัยกลับมาถึงโลกมนุษย์จึงได้บอกให้มนุษย์ทราบ โดยเหตุนี้ผู้
ปรารถนาจะพบศาสนาพระศรีอริยเมตไตรย จึงพากันทำบุญผะเหวดสืบต่อกันมา